วันที่ 7 พ.ย. 2567 นานกิตติศักดิ์ บริบูรณ์เกษตร หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเมาสาธารณภัย จังหวัดชุมพร กล่าวว่า เหตุการณ์น้ำท่วมขังเป็นเพียงการระบายน้ำที่ทำได้อย่างช้าเพราะทางว่าท่อระบายน้ำใหม่สูงกว่าระดับน้ำ ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบได้นำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้งและทำให้ระดับน้ำลดลงในเวลา 2-3 ชม.หลังจากนี้ จะได้ทำการแก้ไขท่อระบายน้ำที่เป็นปัญหาอยู่
ทางจังหวัดชุมพรได้มีการเตรียมแผนรับมือสถานการณ์น้ำและส่งชุดเคลื่อนที่เร็วประจำจุดเสี่ยงไว้แล้ว ขอให้ชาวบ้านอย่าตกใจกับข่าวลือ และให้ติดตามข่าวสารจากทางราชการ
สำหรับแหล่งต้นน้ำหลักของชุมพร มีสองเส้นทางที่ขนาบเขตตัวเมืองชุมพร คือ คลองท่าตะเภา ซึ่งมวลน้ำจะไหลมาจากคลองรับร่อและคลองท่าแซะ อ.ท่าแซะ ที่ไหลมาบรรจบกันที่ บ้านวังครก ต.นากระตาม อ.ท่าแซะ แล้วไหลสู่ตัวเมืองชุมพร
โดยก่อนจะถึงเขตเมืองชุมพร ได้มีการขุดคลอง ชื่อ คลองหัววัง-พนังตัก หรือชาวชุมพรเรียกว่า คลองในหลวง ซึ่งคลองแห่งนี้ เมื่อมีมวลน้ำจำนวนมาก ประตูระบายน้ำแห่งนี้ก็จะเปิดเพื่อเร่งระบายลงสู่ทะเล ก่อนมวลน้ำจะทะลักเข้าท่วมเขตเมืองชุมพรและคลองในหลวงแห่งนี้ ทำให้ตัวเมืองชุมพร ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ รอดพ้นจากน้ำท่วมมาถึงปัจจุบัน กว่า 25 ปีแล้ว